เหตุผลของการเคลือบพื้นโรงงาน
- เพิ่มความแข็งแรงและปกป้องผิวคอนกรีต ปัจจุบันการเคลือบพื้นโรงงานอุตสาหกรรมได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากพื้นของโรงงานมักจะเสี่ยงต่อการถูกกระแทกจากการตกหล่นหรือการเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ และต้องรองรับน้ำหนักของเครื่องจักรขนาดใหญ่ อีกทั้งอาจจะมีสารเคมีและน้ำมันที่อาจตกลงสู่พื้นและทำลายพื้นผิวของโรงงานได้ การเคลือบพื้น PU และ พื้น EPOXY จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มความแข็งแรงและความปลอดภัยให้กับพื้นโรงงาน นอกจากนี้หลังเคลือบแล้วจะทำให้พื้นคอนกรีตสามารถทนทานต่อแรงกระแทก รองรับน้ำหนักต่างๆ ได้ดี ทั้งยังทนทานต่อความร้อนและไฟได้อีกด้วย ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพื้นโรงงานได้อย่างดี ดังนั้นการเคลือบพื้นจึงเป็นสิ่งที่ทุกๆโรงงานควรทำ เพราะนอกจากจะทนทานต่อแรงกระแทกและน้ำหนักแล้ว ยังป้องกันคราบสกปรกต่างๆ ซึมเข้าสู่พื้นของโรงงานได้ ช่วยทำให้อากาศภายในโรงงานเย็นมากขึ้นเพราะสามารถส่งความเย็นจากพื้นมาสู่ภายในโรงงาน การเคลือบพื้นจึงไม่ใช่แค่เพียงเรื่องของความแข็งแรงปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังเพิ่มประโยชน์เรื่องของสภาพอากาศภายในโรงงานอีกด้วย
- ยืดอายุการใช้งานของพื้น ประโยชน์ของการเคลือบพื้นโรงงาน คือช่วยยืดอายุการใช้งานของพื้นได้นานขึ้น โดยเฉพาะพื้นคอนกรีตที่มักจะแตกหักหรือร้าวเสียหายง่าย เมื่อเคลือบพื้น ทนต่อแรงกระแทกและน้ำหนักจำนวนมากได้เป็นอย่างดี พื้นคอนกรีตที่อยู่ด้านล่างของ Epoxy และ PU มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากยิ่งขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของการซ่อมแซมพื้น ทำให้ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงพื้นโรงงานและคลังสินค้าได้อย่างดีทีเลยเดียว การเคลือบพื้นจึงถือเป็นการลงทุนที่ช่วยให้ใช้พื้นโรงงานได้ระยะยาวนานขึ้นและยังช่วยประหยัดเรื่องการจ้างแรงงานในการซ่อมแซมพื้นอีกด้วย
- เพิ่มความสวยงามให้กับองค์กร การเคลือบพื้นโรงงาน ทำให้พื้นดูสะอาดและสวยงามสามารถดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย โดยทั่วไปโรงงานอุตสาหกรรมและโกดังคลังสินค้ามักจะเลือกใช้พื้นซีเมนต์หรือพื้นกระเบื้อง เมื่อใช้งานไปได้สักพักพื้นซีเมนต์และพื้นกระเบื้องจะเกิดการแตกร้าว มีรอยต่อที่ทำให้คราบสกปรกต่างๆ ลงไปฝังลึกได้ หากเปลี่ยนมาใช้เป็นการเคลือบพื้น จะทำให้การใช้งานพื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและดูสะอาดสวยงามมากขึ้น เนื่องจาก Epoxy เคลือบพื้นผิวไม่ให้มีรอยต่อและไม่มีร่องที่คราบสกปรกต่างๆ จะเข้าไปฝังตัวได้ ทั้งยังสามารถทำความสะอาดฝุ่นกับคราบสกปรกที่อยู่บนพื้นได้ง่ายดาย ทำให้พื้นผิวมีความสวยเงางามตลอดเวลา จึงเหมาะต่อการใช้ในโรงงานผลิตอาหาร, โรงงานผลิตอาหารเสริม, โรงงานผลิตเครื่องสำอาง, โรงงานผลิตเครื่องดื่ม และโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
- หลักเกณฑ์ GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยหลักการของ GMP จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ขั้นตอน เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีความปลอดภัยได้คุณภาพเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น ISO 9000 และ HACCP
ข้อกำหนดทั่วไป หรือ General GMP
สุขลักษณะของสถานที่ตั้งกับอาคารผลิต สถานที่ตั้งตัวอาคารกับบริเวณใกล้เคียง จะต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้อาหารที่ผลิตเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย และอาคารผลิตมีขนาดเหมาะสม มีการออกแบบและก่อสร้างที่ง่ายแก่การบำรุงสภาพรักษาความสะอาด และสะดวกในการปฏิบัติงาน ต้องจัดให้มีพื้นที่เพียงพอ ต้องแยกบริเวณผลิตอาหารออกเป็นสัดส่วน มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความชื้นหรือฝุ่นละอองจากการผลิต
เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต จะต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นสนิม มีความแข็งแรงทนทาน จำนวนเครื่องมือ เครื่องจักรกับอุปกรณ์ต้องมีอย่างเพียงพอ และเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานในแต่ละประเภท การจัดเก็บอุปกรณ์ที่ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว ควรจัดเก็บแยกเป็นสัดส่วน อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองกับสิ่งสกปรกต่างๆ
การควบคุมกระบวนการผลิต การดำเนินการทุกขั้นตอนจะต้องมีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลที่ดี ทั้งวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะบรรจุ การผลิต การเก็บรักษา การขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร
การสุขาภิบาล เป็นเกณฑ์สำหรับสิ่งที่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานทั้งหลาย เช่น น้ำใช้ อ่างล้างมือ ห้องน้ำ ห้องส้วม ระบบกำจัดขยะมูลฝอย ทางระบายน้ำทิ้ง การป้องกันและกำจัดสัตว์กับแมลง
การบำรุงรักษา และการทำความสะอาด ช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการปนเปื้อนของสารอันตรายสู่อาหาร โดยต้องทำความสะอาด ดูแลและเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ในการผลิตให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ทั้งก่อนและหลังการผลิต
บุคลากร สวมเสื้อผ้าที่สะอาดและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากการปฏิบัติงานและตัวบุคลากร ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตจะต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นวัณโรคในระยะอันตราย โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจหรือโรคเรื้อนการพิจารณาในแง่ของสถานที่ตั้ง
สถานที่ตั้ง ตัวอาคารและบริเวณพื้นที่โรงงานต้องอยู่ในที่ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนต่อกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ได้ง่าย โดยสถานที่ตั้งโรงงานควรมีลักษณะดังนี้
- ไม่มีการสะสมสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
- ไม่มีการสะสมสิ่งปฏิกูล
- ไม่มีฝุ่นควันมากผิดปกติ
- ไม่มีวัตถุอันตราย
- ไม่มีคอกปศุสัตว์หรือสถานเลี้ยงสัตว์ในบริเวณ
- ไม่มีน้ำขังแฉะและสกปรก
- มีท่อทางระบายน้ำนอกอาคารเพื่อระบายน้ำทิ้ง
ตัวอย่างผลงานการเคลือบพื้น
บริการของเรา
Related Posts
ปัญหาพื้นร่อน
ปัญหาพื้นร่อน เ…
ความรู้เกี่ยวกับงาน Polyurethane
พื้นPU คือสารเค…
ความรู้เกี่ยวกับงาน Epoxy
การเคลือบพื้น E…